สถานที่และบริเวณที่ตั้งของป่าชุมชน

สำหรับความหลากหลายทางชีวภาพของพืชนั้น มีจำนวนพันธุ์ไม้ทั้งสิ้น 215 ชนิด 173 สกุล 72 วงศ์ ดังนี้

 

สำหรับความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์นั้น พบสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด 129 ชนิด สามารถแยกออกเป็นกลุ่มเลี้ยงลูกด้วยนมจำนวน 9 ชนิด กลุ่มเลื้อยคลานจำนวน 10 ชนิด กลุ่มสะเทินน้ำสะเทินบกจำนวน 6 ชนิด กลุ่มสัตว์ปีกจำนวน 67 ชนิด และกลุ่มปลาจำนวน 37 ชนิด แยกออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้

ผลการสำรวจความหลากหลายของปลาในพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พบจำนวน 37 ชนิด 15 วงศ์ โดยปลาที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ วงศ์ปลาตะเพียน (CYPRINIDAE) พบ 15 ชนิด คิดเป็น 40.54 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือวงศ์ปลาแขยง (BAGRIDAE) และวงศ์ปลากระดี่ (OSPHRONEMIDAE) พบวงศ์ละ 3 ชนิด คิดเป็นวงศ์ละ 8.11 เปอร์เซ็นต์ และที่เหลืออีก 12 วงศ์ รวม 15 ชนิดคิดเป็น 40.54 เปอร์เซ็นต์ ของชนิดปลาที่พบทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบปลาต่างถิ่น (introduce species) 3 ชนิด คือ ปลายี่สกเทศ ( Labeo rohita ) ปลานวลจันทร์เทศ ( Cirrhinus cirrhosus ) และปลานิล (Oreochromis niloticus)

ผลการสำรวจความหลากหลายของสัตว์ในพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พบกลุ่มสัตว์ปีกจำนวน 67 ชนิด 38 วงศ์ โดยสัตว์ปีกที่พบมากที่สุดคือวงศ์นกยาง (ARDEIDAE) พบ 6 ชนิด คิดเป็น 8.96 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือวงศ์นกเขา (COLUMBIDAE) และวงศ์นกกาเหว่า (CUCULIDAE) พบ 4 ชนิด คิดเป็นวงศ์ละ 5.97 เปอร์เซ็นต์ ส่วนวงศ์เหยี่ยว (ACCIPITRIDAE) วงศ์นกแซงแซว (DICRURIDAE) วงศ์นกเด้าดิน (SCOLOPACIDAE) และวงศ์นกเอี้ยง (STURNIDAE) พบวงศ์ละ 3 ชนิด คิดเป็นวงศ์ละ 4.62 เปอร์เซ็นต์ และที่เหลืออีก 31 วงศ์ รวม 41 ชนิดคิดเป็น 61.19 เปอร์เซ็นต์ ของนกที่พบทั้งหมด 

ผลการสำรวจ พบ กลุ่มเลี้ยงลูกด้วยนมจำนวน 9 ชนิด 8 วงศ์

ผลการสำรวจ พบ กลุ่มเลื้อยคลานจำนวน 10 ชนิด 4 วงศ์

ผลการสำรวจ พบ กลุ่มสะเทินน้ำสะเทินบกจำนวน 6 ชนิด 4 วงศ์

               ผลการรวบรวมภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถแยกภูมิปัญญาท้องถิ่นออกเป็น 4 ด้าน พบผู้รู้ทั้งหมด 41 คน ประกอบด้วยกลุ่มภูมิปัญญาด้านการจัดการทรัพยากร จำนวน 5 คน ด้านการดูแลสุขภาพพื้นบ้านจำนวน 6 คน และด้านอาหารพื้นบ้านจำนวน 4 คน ด้านเทคโนโลยีพื้นบ้านจำนวน 26 คน โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพด้านงานจักสานและงานทอผ้าพื้นเมืองมีจำนวนมากที่สุด รองลงไปคือหมอยาสมุนไพร งานการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมพื้นบ้าน ทอผ้าพื้นเมือง งานช่างและสิ่งประดิษฐ์พื้นบ้าน และแปรรูปอาหารพื้นบ้าน ตามลำดับ